เมนู

2. อารัมมณปัจจัย


[669] 1. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่ทัสสเนน-
ปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งราคะที่เป็นทัสสเนนปหา-
ตัพพธรรม เพราะปรารภราคะนั้น ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อม
เกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหา-
ตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งทิฏฐิ เพระปรารภทิฏฐินั้น
ราคะที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจฉา
ย่อมเกิดขึ้น โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะปรารภวิจิกิจฉา วิจิกิจฉา ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น โทม-
นัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น เพราะปรารภโทมนัสที่เป็นทัสส-
เนนปหาตัพพธรรม โทมนัสที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม ย่อมเกิดขึ้น วิจิกิจ-
ฉา ย่อมเกิดขึ้น.
[670] 2. ทัสสเนนปหาตัพพธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวทัสส-
เนนนภาวนายปหาตัพพธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นทัสสเนนปหา-
ตัพพธรรม รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
บุคคลพิจารณาเหตุขันธ์ทั้งหลายที่เป็นทัสสเนนปหาตัพพธรรม โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.